Article

The ESG Era, Amidst Crisis

Date: January 2022
Author: Kasiti Ketsuriyonk, Alisha Mata

The ESG Era, Amidst Crisesโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อธุรกิจทุกระดับในหลายภาคส่วน วิกฤตครั้งนี้ได้เน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของระบบนิเว ธุรกิจไม่ว่าจะเป็นเรื่องห่วงโซ่อุปทาน การเข้าถึงเงินทุน หรือ การจัดสรรทรัพยากร ในขณะที่ธุรกิจต่าง ๆ พยายามที่จะสร้างความยืดหยุ่นในทางการปรับตัวของกลยุทธ์หลักและการปฏิบัติการ สิ่งที่สำคัญคือธุรกิจจะต้องยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบในเชิงลบต่อธุรกิจ ที่ผ่านมาสถานการณ์โควิด-19 ได้เพิ่มความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ส่งผลให้ประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้กลายมาเป็นบททดสอบใหม่ของภาคธุรกิจ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ภาคธุรกิจจะไม่สามารถเพิกเฉยต่อแรงกดดันต่าง ๆ นี้ได้อีกต่อไป เพราะประเด็นนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหาที่ไม่รู้จบในระยะยาวอีกด้วย
ในปัจจุบันประเด็น ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ) กำลังถูกนำกลับมาเป็นประเด็นหลักในการตัดสินใจในเชิงทางธุรกิจมากขึ้นเรื่อย ๆ องค์กรต้องบริหารความเสี่ยงและมองหาโอกาสเพื่อปกป้องผลประโยชน์ระยะยาว ซึ่งจะภาคบังคับสำหรับองค์กรทางธุรกิจหลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายในที่สุด

Environmental

ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในภาคธุรกิจได้ครอบคลุมถึงวิธีจัดการความเสี่ยงของบริษัท โอกาสทางธุรกิจที่อาจเกิดขึ้นจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะอากาศ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการกับของเสีย การปล่อยมลพิษ และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เพื่อลดความเสี่ยงในผลกระทบเชิงลบต่อการดำเนินธุรกิจ วิกฤตการณ์นี้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายลงเป็นสิ่งย้ำเตือนให้ภาคธุรกิจทราบว่าขณะนี้พวกเขากำลังเผชิญกับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่าที่เคย ภาคธุรกิจจำเป็นต้องประเมินความเสี่ยงเหล่านี้และพิจารณาผลกระทบไม่เพียงแต่ในห่วงโซ่อุปทานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงธุรกิจต้นน้ำและปลายน้ำอีกด้วย จากผลการสำรวจของ Deloitte Global Resilience Report ปี 2564 ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารระดับ C-level จำนวน 2,260 คน รวมถึงผู้บริหารระดับสูงขององค์กรภาครัฐ จาก 21 ประเทศ พบว่ามากกว่าร้อยละ 60 รู้สึกเป็นเกียรติในคำมั่นสัญญาที่จะปกป้องสิ่งแวดล้อม โดยประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสำรวจได้ระบุว่าธุรกิจของตนได้พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ที่ตอบรับกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้นแล้ว และ ร้อยละ 28 ได้กำหนดกฎเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนให้ซัพพลายเออร์ต่าง ๆ ต้องปฏิบัติตาม นอกจากนี้การสำรวจได้พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามได้จัดอันดับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมว่าเป็นปัญหาด้านความยั่งยืนอันดับต้น ๆ สำหรับธุรกิจที่ต้องจัดการในทศวรรษหน้า

Social

ธุรกิจจะต้องบริหารผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ และ ความยั่งยืนด้านชีวิตและความเป็นอยู่สำหรับทุกคนในสังคม ตัวอย่างในทางปฏิบัติ เช่น ประเด็นด้านสวัสดิการ สุขภาพ และความปลอดภัยของพนักงาน ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงประเด็นด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และความปลอดภัย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับธุรกิจที่จะต้องพิจารณาผลกระทบทางสังคมจากมุมมองต่าง ๆ เช่น การเปิดเผยข้อมูลด้านการปฏิบัติงานอย่างตรงไปตรงมา รวมถึงการเปิดเผยผลกระทบที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับฝ่ายอื่น ๆ เช่น ซัพพลายเออร์ การร่วมทุนกิจการ วิกฤตการณ์ในตอนนี้แสดงให้เห็นว่าภาคธุรกิจสามารถตอบสนองต่อผลกระทบทางสังคมได้ดีขึ้นผ่านความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน Deloitte Resilience Survey 2021 พบว่าสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานและลูกค้าถูกจัดให้เป็นวาระอันดับต้น ๆ ของการประชุม ผลการสำรวจพบว่ามากกว่าร้อยละ 72 ของผู้ตอบแบบสอบถามรู้สึกว่าองค์กรของตนทำได้ดีในการรักษาความปลอดภัยของพนักงานและลูกค้า สะท้อนให้เห็นว่าลำดับความสำคัญนี้ได้ช่วยให้พวกเขาฝ่าฟันวิกฤตในปี 2564 นี้ไปได้

Governance

องค์กรควรจะพิจารณาให้แนวปฏิบัติของบริษัทที่สอดคล้องกับความรับผิดชอบทางธุรกิจและมาตรฐานทางจริยธรรม รวมถึงความเสี่ยงในการบริหารจัดการธุรกิจ ความโปร่งใส โครงสร้างองค์กร ความหลากหลายของคณะกรรมการบริหาร การสนับสนุนทางการเมือง การปฏิบัติตามข้อกำหนด ความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัว การระบุวัตถุประสงค์ให้เข้ากับกลยุทธ์หลักของธุรกิจจะแสดงให้เห็นถึงพื้นฐานในการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายทางด้านผลการดำเนินงานทางการเงินและความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนเพิ่มความมั่นใจด้านความรับผิดชอบและความไว้วางใจ เพราะฉะนั้นการเพิ่มความสามารถในการปรับตัว ตอบสนองต่อการหยุดชะงักของธุรกิจอย่างรวดเร็ว และการปลูกฝังวัฒนธรรมที่ยืดหยุ่นล้วนเป็นส่วนสำคัญของหลักธรรมาภิบาล Deloitte พบว่าบริษัทที่มีความยืดหยุ่นมีลักษณะที่แตกต่างกัน 5 ประการ ได้แก่ เตรียมพร้อม ปรับตัวได้ ให้ความร่วมมือ เชื่อถือได้ และ มีความรับผิดชอบ

ในปัจจุบันได้มีคำถามเกิดขึ้นมากมายเมื่อธุรกิจตัดสินใจลงทุนในโครงการริเริ่มด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เช่น ธุรกิจมีไว้เพื่ออะไร หากมองในด้านการเงินผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการริเริ่มโครงการด้าน ESG มีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนการเติบโตขององค์กรและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน นอกจากนี้แบบสำรวจล่าสุดของ Deloitte เกี่ยวกับมุมมองของธุรกิจเกี่ยวกับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมได้พบว่าผู้ตอบแบบสำรวจเกือบครึ่งหนึ่งระบุว่าการลงทุนในโครงการ ESG ทำให้ความพึงพอใจของลูกค้าเพิ่มสูงขึ้น และ ร้อยละ 38 ของผู้ตอบแบบสำรวจได้ระบุว่าการแสดงให้เห็นถึงคุณค่าด้าน ESG ที่แข็งแกร่งช่วยเพิ่มความสามารถในการดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีคุณภาพให้ยังคงทำงานกับองค์กรต่อไปได้สำหรับองค์กรที่วางแผนจะวางรากฐานทางด้าน ESG ที่ยั่งยืนเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร สามารถเริ่มต้นด้วยการมุ่งเน้นไปที่สามขั้นตอนหลัก ดังนี้

  • ทำให้ ESG เป็นความสำคัญหลักในเชิงกลยุทธ์ – ควรมีการกำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและแม่นยำเพื่อกำหนดกรอบว่า ESG มีความหมายต่อบริษัทอย่างไร นอกจากนี้องค์กรควรเชื่อมโยงประเด็นด้าน ESG ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ วิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ของบริษัท เพื่อช่วยให้บริษัทเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ถูกต้อง
  • เชื่อมโยง performance metric กับเป้าหมายทางด้าน ESG – สร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์กรด้วยการเชื่อมโยง performance metric กับผลกระทบของ ESG ความเชื่อมั่นจะถูกสร้างได้ด้วยเริ่มต้นด้วยการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงด้วยการเปลี่ยนจากความคิดริเริ่มเหล่านี้ไปสู่ลำดับความสำคัญระยะยาวสำหรับธุรกิจ
  • ประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น – พัฒนากรอบการทำงานเพื่อประเมินผลของการริเริ่มโครงการ ESG อย่างสม่ำเสมอ และมุ่งเน้นความโปร่งใสในการรายงานผล

แม้ว่าประเด็นทางด้าน ESG 

จะกลายเป็นส่วนสำคัญของประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร แต่ก็มีบริษัทจำนวนมากที่ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นการทำงานด้าน ESG บริษัทที่ใหม่ในเรื่องนี้อาจจะมีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น ไม่ทราบแนวทางในการบริหารจัดการด้าน ESG วิธีการกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ รวมถึงการเก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลด้าน ESG ซึ่งสวนทางกับความสนใจของนักลงทุนที่ให้ความสำคัญในประเด็นด้าน ESG มากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากเป็นที่ยอมรับกันในวงกว้างว่างานด้าน ESG คือกระจกสะท้อนข้อมูลเชิงลึกที่บอกเล่าถึงแนวคิดและวิธีการขับเคลื่อนองค์กรที่จะนำไปสู่มูลค่าได้ อย่างไรก็ดีทุกวันนี้บริษัทส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยมีการเปิดเผยข้อมูลที่สะท้อนถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในโครงการด้าน ESG มากนักเมื่อเทียบกับการเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน หรือต่อให้เปิดเผยก็ยังนำเสนอข้อมูลไม่ได้ชัดเจนนัก รวมถึงไม่มีตัวชี้วัดที่ดีพอที่จะสะท้อนมูลค่าที่เกิดขึ้นจากการทำงานด้าน ESG ให้นักลงทุนได้รับทราบ นี่คือเหตุผลสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาตัวชี้วัด ESG และ มาตรฐานการรายงานล่าสุดมุ่งเน้นไปที่การสร้างมูลค่าการนำเสนอและตัวชี้วัดทั่วไป

แม้ว่ามาตรฐานการรายงาน ESG อาจจะยังไม่สมบูรณ์

แบบในทุกมิติแต่รายงานยังคงเป็นการสื่อสารที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดจากหน่วยงานที่ให้การกำกับดูแลและหน่วยงานการจัดอันดับประสิทธิภาพทางด้าน ESG รายงานผลการปฏิบัติงานของ ESG ภาคบังคับจะเริ่มถูกยอมรับว่าเป็นข้อกำหนดที่จะต้องปฏิบัติตาม ในหลายกรณีการรายงานด้าน ESG ได้ถูกรวบรวมเข้ากับรายงานทางการเงินประจำปี ซึ่งประเทศไทยก็ได้ก้าวไปสู่ทิศทางนี้เช่นกัน เมื่อเร็ว ๆ นี้ ก.ล.ต. ได้นำกรอบของ '56-1 One Report' ฉบับใหม่มาใช้เป็นแบบฟอร์มการรายงานประจำปีภาคบังคับที่ครอบคลุมข้อกำหนดสำหรับการเปิดเผยข้อมูล ESG โดยจะมีผลบังคับใช้กับบริษัทจดทะเบียนทุกแห่งอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป บริษัทต้องเปิดเผยห่วงโซ่คุณค่า การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงมุมมองและนโยบายแนวทางการจัดการสำหรับด้าน E S และ G ทุกด้าน แบบฟอร์มนี้ยังกำหนดให้ต้องเปิดเผยข้อมูลเฉพาะในแต่ละด้าน เช่น กระบวนการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะสิทธิมนุษยชน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยต้องมีการตรวจสอบข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภายนอก

Get out front

สถานการณ์โควิด-19 ได้บีบให้ธุรกิจต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบใหม่ ต้องยอมรับความยืดหยุ่นและความคล่องตัว เนื่องจากธุรกิจต่าง ๆ เป็นผู้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติและเป็นผู้ควบคุมรูปแบบการผลิตที่สำคัญ เห็นได้ชัดว่าตอนนี้ธุรกิจเป็นหนึ่งในตัวแปรหลักในการขับเคลื่อนวาระ ESG ไปข้างหน้า มีหลายกรณีทางธุรกิจที่พิสูจน์ประโยชน์ของการรวม ESG เข้ากับการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่การประเมินความเสี่ยง การประหยัดต้นทุน ไปจนถึงการหาตลาดใหม่และโอกาสทางธุรกิจ ดังนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่ธุรกิจจะเริ่มพัฒนา ESG ให้มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ กำหนดเป้าหมายและกระบวนการความยั่งยืนขององค์กรสำหรับการนำ ESG ไปปฏิบัติ และเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดเผยข้อมูล ESG ที่จะกลายเป็นข้อบังคับ แม้ว่ากระบวนการเหล่านี้อาจฟังดูน่ากลัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อธุรกิจยังต้องฟื้นตัวจากวิกฤตสุขภาพโลก แต่ประเด็นนี้ก็ยังเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจในการริเริ่มสิ่งใหม่เพื่อปรับกลยุทธ์หลักและการตัดสินใจทางธุรกิจให้สอดคล้องกับข้อบังคับทาง ESG ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่องค์กรธุรกิจจะได้มีโอกาสตอบแทนสังคมผ่านเส้นทางของรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ความยั่งยืนจะช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถก้าวผ่านสถานการณ์โควิด-19 ครั้งนี้ และสร้างความยืดหยุ่นที่ยั่งยื่นกับ disruption ที่ไม่มีใครทราบได้ว่าจะมาอีกเมื่อไหร่ในอนาคต

References

  1. https://www2.deloitte.com/content/dam/insights/articles/US114083_Global-resilience-and-disruption/2021-Resilience-Report.pdf?icid=learn_more_content_click
  2. https://www2.deloitte.com/global/en/pages/about-deloitte/articles/covid-19/business-climate-check.html
  3. https://www.sec.or.th/onereport

Did you find this useful?