Perspectives

Thailand Taxonomy

ก้าวสำคัญสู่ภูมิทัศน์ทางการเงินที่ยั่งยืน 

เมื่อปลายปี 2565 ได้มีความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญในภาคการเงินเพื่อความยั่งยืน คือการออกร่างมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย (Thailand Taxonomy) เป็นฉบับแรก ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญกับภาคธุรกิจ ในการวางแผนกลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคธุรกิจและภาคการเงิน จึงควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Thailand Taxonomy เพื่อการเตรียมตัวปรับในอนาคต

แบบสอบถามความเห็นและข้อเสนอแนะต่อ Thailand Taxonomy ฉบับแรก

เปิดให้แสดงความคิดเห็นถึงวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2565

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเกี่ยวกับร่าง Thailand Taxonomy จนถึงวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2566 ท่านสามารถเข้าถึงเอกสารฉบับเต็มของร่างแรกของ Thailand Taxonomy ได้ที่นี่

Taxonomy คือระบบการจำแนกประเภท และการจัดทำรายการกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน โดย Thailand Taxonomy เป็น Green Taxonomy กล่าวคือกำหนดมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมระบุวัตถุประสงค์ ที่คำนึงถึงด้านสิ่งแวดล้อม รวมไปถึง ระบุวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม หลักการในการระบุกิจกรรมว่าเป็นสีเขียว กำหนดภาคเศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมที่อยู่ในขอบเขต และวิธีการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ของ Thailand Taxonomy

ธปท. กล่าวถึง Taxonomy ว่าเป็น “แนวทางสำหรับโครงการและการจัดการสินทรัพย์เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศ” (BOT, 2022) และเป็นเครื่องมือสำหรับผู้ออกหุ้นกู้ สถาบันการเงิน หน่วยงานสถิติ นักลงทุน หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานระดับท้องถิ่น เพื่อช่วยให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุนเพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ

เมื่อพิจารณามุมมองจากภาคธุรกิจแล้ว Thailand Taxonomy สามารถนำไปใช้ และประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่หลากหลายดังนี้

เกี่ยวกับ Thailand Taxonomy

Thailand Taxonomy ถูกพัฒนาขึ้นให้สอดคล้องกับเป้าหมายการจำกัดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลกไม่เกิน 1.5 °C โดยมีโครงสร้างสำคัญ ดังนี้

ประเด็นสำคัญ: กำหนดกิจกรรมที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Mitigation) ที่สอดคล้องกับนโยบายสภาพภูมิอากาศของประเทศและพันธกรณีระหว่างประเทศ

วัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม: Thailand Taxonomy ถูกออกแบบให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม 6 ด้าน ซึ่งร่างมาตรฐานฯ ฉบับแรกจะครอบคลุมหลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำหรับวัตถุประสงค์ด้าน Climate Change Mitigation เท่านั้น สภาพภูมิอากาศ (วัตถุประสงค์ 1) ซึ่งในอนาคตจะขยาย Taxonomy ให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ทั้งหกประการ ได้แก่ (1) ลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (2) การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (3) การใช้ทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน (4) การคุ้มครองและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ (5) การป้องกันและควบคุมมลพิษ และ (6) การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศ

“ Thailand Taxonomy ฉบับแรก กล่าวถึงมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกิจกรรมการจัดหมวดหมู่กิจกรรมสีเขียวที่มีวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมด้าน 'การลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ' โดยมุ่งเน้นไปที่ 2 ภาคเศรษฐกิจแรก ได้แก่

ภาคพลังงานและภาคการขนส่ง

ในระยะต่อไป Thailand Taxonomy จะถูกขยายให้ครอบคลุม 6 วัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมใน 5 ภาคส่วนเศรษฐกิจ“

ภาคเศรษฐกิจ: Thailand Taxonomy ฉบับแรกได้กำหนดขอบเขตไว้เฉพาะภาคพลังงาน และภาคการขนส่ง โดยการจัดกลุ่มกิจกรรมของภาคเศรษฐกิจอื่นๆ จะถูกพัฒนาขึ้นในระยะถัดไป ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และภาคการผลิตน้ำประปา บำบัดน้ำเสีย และการฟื้นฟูคุณภาพน้ำ  

วิธีการใช้ Thailand Taxonomy

ร่าง Thailand Taxonomy ได้ระบุภาคเศรษฐกิจ รวมถึงหลักการและเหตุผลสำหรับการจัดลำดับความสำคัญของภาคเศรษฐกิจ แบบจำลองที่ใช้สำหรับการประเมินกิจกรรม และการสร้างแบบจำลองสถานการณ์ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องเพื่อจำแนกกิจกรรมสีเขียว สีเหลือง หรือสีแดง และเงื่อนไขสำคัญสำหรับกิจกรรมที่เข้าข่าย

แม้กระบวนการพิจารณากิจกรรมเหล่านี้อาจมีความซับซ้อน ท่านอาจใช้ 3 ขั้นตอนต่อไปนี้ เป็นแนวทางในการใช้ Thailand Taxonomy สำหรับการจำแนกกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คือ

  1. แบ่งการดำเนินงานในภาคเศรษฐกิจที่พิจารณาออกเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
  2. ประเมินรายละเอียดกิจกรรมตามหลักเกณฑ์การคัดกรองทางเทคนิค
  3. ตรวจสอบกิจกรรมว่าไม่สร้างผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญ (Do No Significant Harm) ต่อวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมอื่น และการประเมินผลกระทบด้านสังคม และจัดทำรายงาน

ผลกระทบและความท้าทาย

Taxonomy เป็นระบบการจำแนกประเภทกิจกรรม ไม่ใช่ข้อบังคับการทำกิจกรรมหรือข้อกำหนดในการรายงาน ดังนั้นการประกาศใช้ Taxonomy จะยังไม่เปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจหรือภูมิทัศน์ทางการเงินอย่างฉับพลัน อย่างไรก็ตามอาจมีข้อสังเกตเกี่ยวกับความท้าทาย และการพัฒนาในอนาคต ดังนี้

ผลกระทบต่อข้อกำหนดด้านการจัดเก็บข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม – ต้องใช้ข้อมูลและความโปร่งใสที่มากขึ้น: เนื่องจากหลักเกณฑ์การคัดกรองทางเทคนิคต้องใช้ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมในรายละเอียด ดังนั้นธุรกิจอาจต้องปรับปรุงกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม และกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การปรับปรุงหลักเกณฑ์ในอนาคต – Taxonomy จะเป็นเอกสารที่มีการปรับปรุงอยู่เสมอ: เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของหลักเกณฑ์การคัดกรองทางเทคนิค (ตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี) Taxonomy จึงเป็นเอกสารที่จำเป็นต้องมีการปรับปรุงอยู่เสมอ ดังนั้นบริษัทต่าง ๆ จะต้องมีปรับเปลี่ยน และวางแผนกิจกรรมสีเขียวให้สอดคล้องกับ Taxonomy ฉบับปรับปรุงในอนาคต และการพัฒนาทางเทคโนโลยีเพื่อการลดการปล่อยคาร์บอน

กฎระเบียบที่ออกมากำกับการใช้ Taxonomy – กฎระเบียบที่ดีเพื่อการใช้ Taxonomy ให้ตรงตามเป้าหมาย: การใช้งาน Taxonomy ในวงกว้างเพื่อสนับสนุนการเงินเพื่อความยั่งยืน และการเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ หน่วยงานกำกับดูแลควรต้องกำหนดกฎหมายหรือระเบียบโดยอ้างอิงการจัดหมวดหมู่กิจกรรมสีเขียวตาม Taxonomy เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้ ภาคธุรกิจอาจต้องปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมปฏิบัติตามกฎระเบียบเหล่านี้

ความสอดคล้องกับมาตรฐานต่างประเทศ และ Taxonomy ของประเทศอื่น – การจำแนกประเภทที่มีหลักเกณฑ์แตกต่างกัน ทำให้การระบุกิจกรรมสีเขียวไม่สอดคล้องกัน: ซึ่งเป็นความท้าทายที่พบในหลายประเทศ ซึ่งความสอดคล้องของ Taxonomy ระหว่างประเทศ อาจช่วยเพิ่มความน่าสนใจ และส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนในกิจกรรมสีเขียว จากมุมมองของกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ

Taxonomy เป็นหนึ่งในการพัฒนาหลักในภูมิทัศน์ทางการเงินที่ยั่งยืนของไทย ซึ่งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่จะออกเพิ่มเติมสำหรับภาคเศรษฐกิจที่กำหนดไว้ และการจำแนกประเภทกิจกรรมให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมทั้ง 6 ประการ จะเป็นพัฒนาการในระยะถัดไป เราเชื่อว่าการออกร่าง Taxonomy ฉบับแรกเป็นก้าวที่สำคัญ ซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะเข้าใจการใช้งาน และความสำคัญของ Taxonomy ในกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

เอกสารอ้างอิง

• Bank of Thailand, “Thailand Taxonomy Paper: Draft for public consultations,” 2022.
• Gondijian, Garnik and Cédric Merle, “Sustainable Taxonomy development worldwide: a standard-setting race between competing jurisdictions,” Natixis, July 29, 2021.

Did you find this useful?