Perspectives

ผลสำรวจการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลของประเทศไทย

ผลสำรวจการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลของประเทศไทย 2566

วันที่: พฤศจิกายน 2566

ผู้เขียน: ดร.นเรนทร์ ชุติจิรวงศ์
ผู้อำนวยการบริหาร | Clients & Industries
ดีลอยท์ ประเทศไทย

โกบินทร์ รัตติวรากร
ผู้อำนวยการบริหาร | บริการที่ปรึกษาทางการบริหารจัดการ
ดีลอยท์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

มาลี เอกวิริยะกิจ
Senior Consultant | Clients & Industries
ดีลอยท์ ประเทศไทย

 

ดีลอยท์ ประเทศไทยได้ทำการสำรวจการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลมาอย่างต่อเนื่อง ติดต่อกันเป็นปีที่ 4 ตั้งแต่ปี 2020-2023 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติขององค์กรต่อการปรับตัวสู่ดิจิทัล

ดีลอยท์ ทำการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม ด้วยวิธีการวัดเชิงปริมาณ การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทำแบบสอบถามระดับผู้บริหารระดับสูง (C-suite) เพิ่มเติมนอกเหนือจากคำถามในแบบสอบถาม

จากการสำรวจ พบว่าการปรับองค์กรสู่ดิจิทัลมีความแตกต่างกันทุกปี ในช่วงปี 2564-2566 โดยองค์กรส่วนใหญ่เร่งรัดในดําเนินการปรับองค์กรสู่ดิจิทัล ในปี 2021 หรือเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในระยะแรกๆ แต่ก็ยังมีองค์กรบางแห่งไม่ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงประสิทธิภาพทางธุรกิจ เนื่องจากขาดประสบการณ์และการดําเนินการล่าช้า ต่อมาในปี 2022-2023 องค์กรต่างๆ เริ่มมีการปรับตัวเชิงกลยุทธ์และเลือกใช้แนวทางที่เหมาะกับองค์กรของตนมากขึ้น โดยมีอัตราความสําเร็จในการปรับตัวสู่ดิจิทัลก็ดีขึ้นเช่นกัน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากประสบการณ์ที่ได้รับมาก่อนและการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมากขึ้น ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลจึงอยู่ในระดับปานกลางตลอดปี 2023

โดยปกติแล้ว พบว่าบริษัทที่มีการใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก เช่น อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสื่อ โทรคมนาคม รวมถึงอุตสาหกรรมผู้บริโภคที่แข่งขันกันเพื่อดึงดูดลูกค้า มีการลงทุนในการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลมากกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ
นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างปี 2023 และ 2022 พบว่า มีองค์กรจำนวนมากยิ่งขึ้น ที่เริ่มดำเนินการหรือวางแผนที่จะลงทุนในเทคโนโลยี โดยเฉพาะการวิเคราะห์ข้อมูล

จากการสำรวจเพิ่มเติมโดยพิจารณาจากตำแหน่งของผู้ตอบแบบสอบถามนั้น ผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่มผู้บริหารระดับสูง มองว่าองค์กรมีความเสี่ยงในการดําเนินงานที่ลดลงจากการปรับตัวสู่ดิจิทัล ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่มอื่น กลับมองการปรับตัวสู่ดิจิทัลส่งผลดีต่อประสบการณ์ของลูกค้า เนื่องจากพนักงานในตำแหน่งอื่น มักจะทํางานใกล้ชิดกับลูกค้ามากกว่าผู้บริหารระดับสูง

ความท้าทายสําคัญในการก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล คือ การสํารองงบประมาณจากภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจภายหลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สิ้นสุดลง โดยทางออกที่เป็นไปได้คือการจ้างพนักงานด้านไอทีจากภายนอก (outsourcing) ด้วยแพลตฟอร์มบนคลาวด์ เพื่อลดต้นทุน นอกจากนี้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act: PDPA) ยังเป็นประเด็นที่ท้าทาย เนื่องจากมีความกังวลในเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

Archive

Did you find this useful?